บริษัท รักษาความปลอดภัย ธีระชัย จำกัด ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 โดยส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยฝึกอบรม ณ สถานฝึกอบรมที่ได้รับการแต่งตั้งถูกต้องตาม พ.ร.บ.ฯ เพื่อเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต โดยการอบรมของสถานฝึกอบรมนั้นแบ่งเป็นภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติรวมระยะเวลาตลอดการฝึกอบรม 40 ชั่วโมง โดยมีหลักสูตรดังนี้
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจรักษาความปลอดภัย
1.1 ความแตกต่างของงานรักษาความปลอดภัย ในแต่ละหน่วยงาน
1.2 ความรู้ ทักษะ ของพนักงานรักษาความปลอดภัยเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.1 พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558
2.2 ระเบียบวินัย ของพนักงานรักษาความปลอดภัย
2.3 กฎหมาย (เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน) - การรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน
3.1 การตรวจบริเวณสถานที่รับผิดชอบ การตรวจค้นบุคคล การสังเกต
3.2 องค์ประกอบพื้นฐานของการรักษาความปลอดภัย เช่น การห้ามเข้าพื้นที่ การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
3.3 การควบคุมฝูงชน การปิดกั้นสถานที่ หรือการกำหนดเขตหวงห้าม - การเขียนรายงานสำหรับพนักงานรักษาความปลอดภัย
4.1 หลักการเขียนรายงาน การจดบันทึกข้อมูล การบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน
4.2 ความแตกต่างของวัตถุประสงค์ในการเขียนรายงาน - การเตรียมความพร้อมกรณีเหตุฉุกเฉิน
5.1 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเหตุฉุกเฉิน
5.2 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมต่อเหตุฉุกเฉิน เช่น การเกิดเหตุเพลิงไหม้ เป็นต้น
5.3 หน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน - การติดต่อสื่อสาร
6.1 ทักษะการติดต่อสื่อสารด้านวาจา การโต้ตอบกับผู้ว่าจ้าง การใช้คำ การใช้ภาษาที่ดีและเหมาะสมในการพูดและเขียน หลักการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและการถ่ายทอดข้อความอย่างถูกต้อง
6.2 เทคนิคในการสื่อสารโดยการคำนึงพฤติกรรมหรือการกระทำ ตามลักษณะของบุคคลหรือสถานการณ์ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
6.3 เทคนิคและขั้นตอนการใช้วิทยุสื่อสารและการใช้โทรศัพท์ - หลักการใช้กำลัง
7.1 การเลือกวิธีที่เหมาะสมในการใช้กำลัง
7.2 สภาวะการทำงานใต้ความกดดัน และการรักษาความสงบเรียบร้อย - การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
8.1 การจัดการพื้นที่ฉุกเฉิน
8.2 การช่วยเหลือกรณี ช็อก เป็นลมหมดสติ
8.3 การช่วยเหลือกรณีเกิดการสำลัก หรือมีการอุดตันทางเดินหายใจ (ผู้ใหญ่)
8.4 การช่วยเหลือกรณีเสียเลือดอย่างรุนแรง
8.5 ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) - การจัดการและการควบคุมการจราจร
9.1 การควบคุมบุคคล และยานพาหนะในพื้นที่รับผิดชอบกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
9.2 การใช้สัญญาณมือในการจัดการจราจร
9.3 การใช้อุปกรณ์เพื่อควบคุมการจราจร - การฝึกภาคสนามบุคคลท่ามือเปล่า
10.1 ระเบียบแถว
10.2 การทำความเคารพ
10.3 การต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่า และกระบอง
-
-
-
-
More Image
-